หลายๆคนทั้งที่เป็นเภสัชกร และ ไม่ได้เป็นเภสัชกร อาจมีความฝันว่าอยาก เปิดร้านขายยา กับเขาบ้าง แต่หลายคนก็ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นการทำ ร้านขายยา จากจุดไหน ทำให้หลายๆคนวางแผนไม่ถูกว่า จะต้องทำอะไรก่อนหลัง ในบทความนี้จะเป็นเหมือนแนวทาง (Road map) ให้ท่านที่สนใจกำลังจะเปิดร้านขายยา
สารบัญหัวข้อ ต้องเตรียมอะไรบ้างก่อนที่จะเปิดร้านขายยา (เลือกอ่านตามหัวข้อ)
1. เตรียมเงินลงทุน (อาจเป็นเงินเราเอง ร่วมหุ้น หรือ หาแหล่งเงินทุน)
2. เตรียมความรู้ (ทำเลแบบไหน ใครคือลูกค้า ใครคือคู่แข็ง ทำร้านแบบไหน)
3. ศึกษาข้อกฎหมาย และ ระเบียบในการเปิดร้าน
4. วางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนของร้านเพื่อจัดสรรงบให้เพียงพอ
5. เลือกสินค้าเข้าร้าน
6. สรุปการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดร้านขายยา
เตรียมเงินทุน
ไม่ว่าจะร้านเล็ก ร้านใหญ่ หรือแม้กระทั้งเปิดร้านขายยาออนไลน์ (ขายได้เฉพาะยาสามัญประจำบ้าน) ก็ต้องมีเงินลงทุนเริ่มต้นด้วยกันทั้งสิ้น จะมากหรือน้อยต่างกันไปเท่านั้นเอง โดยเงินทุนเริ่มต้นเนี้ย โดยส่วนใหญ่แล้วจะได้มาจาก 3 แหล่งก็คล้ายๆกับธุรกิจอื่นๆเวลาเริ่มต้นทำ คือ เงินของเราเอง เงินกู้ และจากการหาหุ้นส่วน
สำหรับผู้ที่ไม่มีเงินทุนและต้องการกู้เงิน ถ้าหากเป็นเภสัชกรแล้วตามธนาคารต่างๆก็มักจะมีดอกเบี้ยพิเศษให้ เพียงแค่เรามีใบประกอบและ statement ย้อนหลัง เพื่อหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ อย่างเช่น สินเชื่อของธนาคารกสิกรไทย สำหรับผู้เริ่มต้น
เตรียมความรู้
การมีเงินอย่างเดียว แน่นอนว่าไม่ได้รับประกันว่าธุรกิจของเราจะรอดหรือจะร่วง เพราะหากปราศจากความรู้ ความเข้าใจ ก็อาจทำให้เราสูญเงินไปได้ แล้วความรู้อะไรหล่ะที่สำคัญสำหรับการเริ่ม เปิดร้านขายยา
- ทำเล สำคัญที่สุดก็คือ ทำเล เพราะสินค้ายานั้น เราไม่สามารถทำการตลาดได้ ดังนั้นทำเลจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราทำเลนั้นจะเป็นตัวกำหนดกลุ่มลูกค้าเริ่มต้นของเรา ในการสร้างธุรกิจ
- กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร แบบที่บอกไปว่าทำเล เป็นตัวกำหนดลูกค้าในตอนต้น เช่น ทำเลของเราอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวลูกค้าส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักท่องเที่ยว ทำเลของเราอยู่ใกล้ตลาดในเวลาปกติลูกค้าของเราส่วนใหญ่ก็จะเป็นแม่ค้า พ่อค้า ในตลาดบริเวณนั้นๆ
- ทำเลแม้จะอยู่ในโซนเดียวกัน เช่น เป็นโซนท่องเที่ยวเหมือนกัน แต่อยู่คนละจังหวัด อำเภอ ก็มีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นอย่างลืมวิเคราห์กลุ่มลูกค้าของเราให้ละเอียด และอย่าลืมดูความหนาแน่นของประชากร บริเวณพื้นที่นั้น (สามารถยื่นเรื่องขอจากทางอำเภอ หรือ ลองค้นหาใน google ได้) และ อย่างลืมประเมินกำลังซื้อของประชากรละแวกนั้น
- ดูพื่นที่โดยรอบและคู่แข่งในบริเวณนั้น แม้ว่าทำเลที่ดี และ กลุ่มลูกค้าที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือคู่แข็ง เพราะหากคู่แข็งของเรานั้น เป็นคู่แข็งที่อยู่มายาวนาน และลูกค้ามีความพักดีต่อแบรน์ (Royalty) สูง ก็อาจจะทำให้การเปิดร้านของเราไม่สามารถแชร์ส่วนแบ่งการตลาดได้
- ทำร้านแบบไหนดี ข้อนี้สำคัญไม่แพ้กัน เพราะ จะช่วยให้เรากำหนดงบประมาณในการสร้างร้านได้ถูกต้อง ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และถูกใจกลุ่มลูกค้าของเรา หลายๆคนเข้าใจว่าต้องทำร้านสวยๆ เอาแบบนั้นแบบนี้ แต่จริงๆแล้วสำคํญไม่แพ้กันคือ จะออกแบบร้านยังไงให้ลูกค้ากล้าเดินเข้าร้าน และอยู่ในร้านเรานานๆได้มากกว่า ไม่ใช่มองแค่ว่าต้องทำร้านให้ออกมาสวย แต่บางครั้งความสวยก็เป็นภัยที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่กล้าเข้าร้านได้เช่นกัน
- โดยจากประสบการณ์แล้ว ส่วนสำคัญคือการออกแบบป้ายหน้าร้าน และ ทางเข้าร้านให้สะดุดตา เพราะจะเป็นจุดที่ลูกค้าจะจดจำแบรนด์เรา และ มีโอกาสมาเป็นลูกค้าในอนาคตได้
- การออกแบบ layout หรือแบบแปลนของร้านในการวางชั้นวางสินค้า เพราะในจุดนี้จะมีผลในการที่จะดึงลูกค้าไว้ให้อยู่ในร้านเราได้นานอีกด้วยและมีส่วนในการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าอืกด้วย เพราะหลังจากวางแปลนร้านและเราซื้อเฟอร์นิเจอต่างๆมาแล้ว จะทำการปรับเปลี่ยนได้ลำบาก จึงควรคิดเรื่องนี้ให้รอบคอบ
- การว่างแบบแพลน ยังช่วยให้เรากำหนดงบประมาณในการซื้อสินค้าแต่ละหมวดหมู่ ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าได้ดีขึ้นอีกด้วย
ศึกษาข้อกฎหมายร้านขายยา และ ระเบียบในการเปิดร้านขายยา
เนื่องจากยาเป็นวัตถุอันตราย มีผลข้างเคียง และ การแพ้ยา เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการขายยาจึงต้องมีกฎหมายเข้ามาควบคุมเงินงวดมากกว่ากว่าสินค้าในกลุ่มอื่นๆ เช่น ขนม ของใช้ และนอกจากนี้หากเราวางแผนได้เป็นไปตามระเบียบ ก็จะช่วยให้สภาเภสัช และ อย ช่วยให้เราผ่านเกณฑ์มาตราฐานที่กฎหมายกำหนดได้เร็วขึ้น
- กฎหมายการเปิดร้านขายยา จะเป็นระเบียบ GPP ที่สภาเภสัชกรรม กำหนดขึ้นมา ซึ่งแอดจะมาเขียนในบทความถัดๆไปให้ โดยทางสภาจะมี checklist กำหนดให้เราว่าต้องส่งอะไรบ้าง ซึ่งหากเราทำได้ดี จะส่งผลให้เวลาต่อใบอนุญาติต่างๆทำได้รวดเร็วขึ้นด้วย และอย่าลืมเก็บข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไว้ เพราะจะช่วยให้เรานำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ต่อใบอนุญาติในปีต่อๆไป
- เอกสารการขออนุญาติเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบัน มีอะไรบ้าง เช่น ใบ ขย ต่างๆ ขย1 ขย14 ซึ่งสามารถ Download ได้จาก web ของทาง อย. ได้เลย
- ระเบียบในการมีเภสัชกรประจำร้านขายยา ว่าต้องอยู่เวลาไหนบ้าง ซึ่งปัจจุบันจะกำหนดให้อยู่ตลอดระยะเวลาทำการที่ร้านเปิด
วางแผนค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนในการทำร้านขายยา
จากประสบการณ์การของผมสิ่งที่สำคัญไม่แพ้เงินทุนเลยคือการนำเงินที่เราได้มาแบ่งเงินเพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดและควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆให้เพียงพอ โดยจากประสบการณ์ผมจะแบ่งเงินออกเป็น 3 ก้อนก่อน
- ก้อนที่ 1 สำหรับการทำร้าน ตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ภายในร้านทั้งหมด มักใช้เงินไปกับการตกแต่งร้านและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆในร้านมากกว่าส่วนอื่นๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของสถานทีที่เราไปเช่าด้วยเช่นกัน ถ้าหากสถานที่ทรุดโทรมมาก จะสิ้นเปลืองงบประมาณในส่วนนี้มาก
- ก้อนที่ 2 สำหรับการสั่งซื้อสินค้าเข้าร้าน โดยแนะนำว่าให้แบ่งรายการสินค้าเป็นหมวดหมู่ และกำหนดงบประมาณการสั่งซื้อคราวๆว่าต้องการลงทุนในหมวดหมู่นี้เท่าไหร่
- ก้อนที่ 3 สำหรับการทำการตลาดให้กับร้าน และ เป็นเงินสำรองสำหรับซื้อของเพิ่มเติมจากการขายสินค้านั้นออก ที่เราเรียกว่า Cost of good sold (COGS) นั้นเอง
เงินก้อนที่ 1 สำหรับตกแต่งร้านขายยา และ ซื้ออุปกรณ์ต่างๆภายในก่อนเปิดร้าน
โดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่แอดจะแนะนำเลยคือการตกแต่งร้านเนี้ยเราต้องดูด้วยว่ากลุ่มลูกค้าแถวๆร้านเราเนี้ยเป็นใคร และสินค้าที่เรา Focus ขายให้ลูกค้าเราเป็นอะไร ถ้าสินค้าเราเน้น ขายยา ที่เป็นยา Original อาหารเสริม หรือ เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่มีมูลค่าสูง กลุ่มลูกค้ามีฐานะกำลังซื้อสูงเป็นส่วนใหญ่ การแต่งตกร้านให้สวยและดูดีเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะเป็นการเพิ่มความหน้าเชื่อถือ และเป็นที่จดจำ
แต่ถ้าร้านเราเน้นการจ่ายยา Local made ยานับเม็ด สินค้าอาหารเสริม สกินแคร์ มูลค่าไม่สูงมากนัก และกลุ่มลูกค้าเป็นชาวบ้านหรือแม่ค้าเป็นส่วนใหญ่ การตกแต่งร้านอาจไม่ต้องจัดเต็ม หรือ ทำร้านให้ดูเวอร์วังมาก เพราะอาจทำให้ลูกค้า กลัวจนไม่กล้าเข้าร้านได้ เพราะคาดเดาว่าของในร้านอาจมีมูลค่าแพงเกินกว่ากำลังเงินที่จะซื้อ
โดยงบประมาณในการตกแต่งคราวๆจะมีดังนี้
- ชั้นวางสินค้าและชั้นวางยา ราวๆ 1 แสน – 2 แสนบาทแล้วแต่ขนาดของร้าน และวัสดุที่เลือกใช้
- ค่าทำฝ่าเพดาน 30000 – 50000 แล้วแต่ขนาดร้านและชนิดฝาที่เลือกแนะนำให้เลือกฝาเรียบ
- ค่าปูพื้นกระเบื้องร้าน อันนี้ต้องแล้วแต่ชนิดของกระเบื้องที่ปูและพื้นที่เลยคำนวณได้ยาก
- แอร์และค่าติดตั้ง 50000 – 2 แสนบาท แล้วแต่ขนาดร้าน และ จำนวนแอร์ภายในร้านยา
- ค่าวางระบบสายไฟต่างๆ และหลอดไฟราวๆ 50000 – 1.5 แสนบาท ขึ้นอยู่กับขนาดร้าน และ จำนวนตู้สินค้า
- ค่าตกแต่งด้านหน้าร้าน เช่น กรอบไฟหน้าร้าน (light box) หรือ ป้ายไฟต่างๆหน้าร้าน แอดแนะนำว่าส่วนนี้อย่าเสียดายเงินมากเกินไป เพราะมันเป็นตัวเรียก traffic หรือเรียกคนเข้าร้านเลย แต่ก็ต้องทำให้พอประมาณเหมือนกันตามกลุ่มลูกค้าหลักเราน่ะ โดยค่าทำจะอยู่ราวๆ 10000 – 50000 บาท
- ค่าวางระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม เครื่องสแกนบาร์โค๊ต ลิ้นชักเงิน และ เครื่องปรินท์ จะอยู่ราวๆ 25000 – 50000 บาท แล้วแต่รุ่นสินค้าเหล่านี้ และ โปรแกรมที่เลือกใช้ในการเปิดร้านขายยาเบื้องต้น
เงินก้อนที่ 2 สำหรับเลือกซื้อสินค้าเข้าร้าน
สำหรับเงินก่อนนี้ แอดแนะนำให้เราแบ่งสินค้าจากแบบแพลนร้าน (Store plan) หรือ แบบชั้นวางสินค้า (Planogram) ที่วาง เช่น เราต้องการใช้งบกับกลุ่มยาทั้งหมดเท่าไหร่ อาหารเสริมเท่าไหร่ สกินแคร์เท่าไหร่ อันนี้คือแบ่งแบบคราวๆ แต่ถ้าเราอยากจะแบ่งให้ละเอียดกว่านี้ เราอาจจะกำหนดปลีกย่อยไปอีกว่าจะแบ่ง ยาทา , ยากิน , ยาเด็ก โดยใส่งบประมาณเข้าไป แต่แนะนำว่าให้กำหนดคราวๆก่อนในรูปแบบหมวดหมู่กว้างๆก่อนจะง่ายต่อการกำหนดงบได้ง่ายกว่า แล้วค่อยมาดูรายละเอียดเป็นหมวดสินค้าย่อยๆอีกทีเพื่อป้องกันงบประมาณในการลงทุนบานปลาย
นอกจากนี้อย่าลืมเพื่อเงินสำหรับซื้ออุปกรณ์ สำหรับใช้ตรวจตอนเปิดร้านขายยาด้วยน่ะ
เงินก้อนที่ 3 เงินตั้งงบสำรองค่าใช้จ่ายส่วนเกินและการขาดทุนในช่วงเริ่มต้นร้าน
ไม่ว่าจะลงทุนในธุรกิจใดๆ เริ่มต้นแล้วเราอาจจะยังไม่ได้มีกำไรในเดือนแรกๆ หลังหักค่าสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆภายในร้าน หรือบางธุรกิจอาจจะขาดทุนเป็นปีๆหรือหลายปี เพื่อจุดประสงค์ในการทำตลาดหรือสร้างตลาดโดยให้เป็นที่รู้จักซึ่งใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
แต่สำหรับธุรกิจร้านขายยาแล้วโดยเฉลยถ้ายอดขายร้านไม่แย่มากนัก จะมีช่วยขาดทุนเริ่มต้นราวๆ 3 – 6 เดือน ซึ่งแต่ละร้านก็มีค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับขนาดร้าน ค่าไฟที่ใช้ จำนวนพนักงาน แต่สำหรับร้านที่ทำเองอยู่เองก็อาจจะต้องคำนวณเงินเดือนของตัวเองแยกออกจากทุนสำรอง จะได้รู้แน่ชัดว่าในแต่ละเดือน หลังทำร้านแล้วหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดเรามี กำไรสุทธิ (Net profit margin) อยู่เท่าไหร่
โดยเฉลยแล้วแอดแนะนำให้เตรียมเงินสำรองไว้ประมาณให้เท่ากับ (ค่าเช่าในแต่ละเดือน + 5000 – 10000/จำนวนพนักงาน 1 คน) สำหรับใครที่ยังคิดไม่ออกว่าจะเตรียมไว้เท่าไหร่ เช่น สมมิตว่าค่าเช่าเรา 30000 บาท/เดือน ทั้งร้าน และมีเราเป็นพนักงานของร้านอยู่คนเดียว แนะนำว่าควรเตรียมเงินสำรองไว้คราวๆในแต่ละเดือนคือ 30000 + 5000 = 35000 แบบต่ำๆนะครับ เตรียมไว้ราวๆ 3-6 เดือน ก็จะประมาณการคราวๆที่ 105,000 อะน่ะ จำนวนที่แอดแนะนำคือถือว่าเป็นจำนวนเงินสำรองที่ save มากๆแล้วที่กันกระแสเงินสดสะดุดระหว่างที่เราเริ่มเปิดร้านใหม่ และมีการซื้อของเขาร้านเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ
เลือกสินค้าเข้าร้าน
การเลือกสินค้าเข้าร้านนี้เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เลยนะ แต่ละคนอาจมีความคิดแตกต่างๆกัน เพราะมันขึ้นอยู่กับรูปแบบของร้านด้วย และ ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าแถวนั้น กลุ่มลูกค้าที่เราต้องการที่จะเรียก traffic เข้าร้านด้วย รวมถึงการเลือกสินค้ายังส่งผลต่อกำไรของร้านขายยาของเราด้วย ดังนั้น แต่ละคนมีแนวคิด และ ทำเลที่แตกต่างกัน การเลือกสินค้าต่างๆเข้ามาในร้านยา ตั้งแต่สินค้าที่เป็นยา และไม่ใช่ยา ก็จะแตกต่างกันด้วยเช่นกัน
เบื้องต้น แอดจะแนะนำคราวๆว่า เรื่องการเลือกสินค้าเข้าร้านในตอนเริ่มต้นจะไม่แนะนำให้เลือกสินค้ามากเกินไป แต่จะให้ Focus ไปกลุ่มสินค้าที่เราคาดว่าตรงกับกลุ่มลูกค้าทั่วๆไปที่ต้องใช้สินค้าเหล่านี้ก่อน โดยเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าบริเวณร้านของเราก่อน และควรจะมีสินค้าที่ทำกำไรให้กับร้านด้วยที่เราคิดว่าเราสามารถนำมาแนะนำลูกค้าเพื่อขายออกได้ รวมถึง model ของตัวร้านว่าเราจะเน้นสินค้ากลุ่มไหนเป็นหลักก็ให้เลือกสินค้ากลุ่มนั้นมากหน่อย
แต่ไม่ว่าจะเลือกสินค้าอะไรเข้ามา อย่าลืมกำหนดงบประมาณออกมาคราวๆก่อน ว่าจะใช้งบประมาณไปกับสินค้าแต่ละกลุ่มที่มูลค่าเท่าไหร่ เพื่อป้องกันงบบานปลายจากที่เราควบคุมไว้นั้นเอง และกลุ่มลูกค้าแถวร้านเราที่จะมาเป็นลูกค้าคนแรกๆ ที่จะทำให้สินค้านั้นขายได้เป็นสำคัญก่อน
ใช้ชีวิตอย่ายึดติดฉันใด ทำร้านขายยา หรือ ธุรกิจใดๆ อย่ายึดติดกับโมเดลมากเกินไปฉันนั้น
สรุปการเปิดร้านขายยา
ก่อนจะ เปิดร้านขายยา อย่าลืมสำรวจว่าเราได้เตรียมสิ่งต่างๆที่บทความนี้แนะนำไว้แล้วหรือยัง เพราะสิ่งต่างๆที่เขียนไว้เกิดจากประสบการณ์จริงๆของแอดที่เปิดร้าน และมีทั้งถูกบ้าง ผิดบ้าง หรือหลายๆคนอาจจะเห็นต่างจากนี้ก็แล้วแต่ความคิดของแต่ละบุคคล แอดอยากนำมาแชร์ให้ทุกๆท่านที่กำลังสนใจจะเปิดร้าน จะได้ไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเองทั้งหมด เพราะการเปิดร้านยาก็เหมือนการทำธุรกิจรูปแบบหนึ่ง หากไม่เตรียมพร้อมแล้ว ก็อาจจะไปไม่รอดได้ตั้งแต่เริ่ม ดังสุภาษิตที่ว่า
ในสนามรบ จะแพ้หรือชนะ บางครั้งสามารถรู้ได้ตั้งแต่อยู่ในกระโจม